ซื้อลู่วิ่งไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี?
- 8 Jul 2022
- Fitwhey101
- กนกสิงห์ ชมศรี
- 3334
ใครๆ ก็รู้ว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์มากมายขนาดไหน! แต่ถ้าหากว่าการออกกำลังแต่ละทีมีความยุ่งยากมากไป ทั้งต้องออกจากบ้านเดินทางไปฟิตเนส หรือต้องหอบเสื้อผ้าและรองเท้าออกกำลังกายไปทำงานด้วย เพื่อแวะฟินเนสใกล้ที่ทำงานมันก็ดูจะต้องใช้ความพยายามเยอะจนเกินไป ยิ่งในยุคที่เราต้องระวังการเข้าไปอยู่ร่วมกับคนเยอะๆ โดยเฉพาะฟิตเนสด้วยแล้ว ที่ส่วนใหญ่จะเป็นห้องแอร์อากาศไม่ถ่ายเท แถมยังไม่น่าจะมีใครที่สามารถใส่หน้ากากอนามัยออกกำลังกายได้… ก็คงจะดีกว่าถ้าจะมี “ลู่วิ่งไฟฟ้า” ดีๆ ติดบ้านไว้สักเครื่องหนึ่ง
เพราะนอกจากจะไม่ต้องเสี่ยงกับโรคระบาดแล้ว คุณยังสามารถออกกำลังกายได้ในวันเวลาที่คุณสะดวกและยาวนานได้เท่าที่คุณต้องการโดยไม่ต้องแคร์เวลาเปิด-ปิดทำการของฟิตเนสทั่วไปอีกด้วย ที่สำคัญการลงทุนซื้อ “ลู่วิ่งไฟฟ้า” ไว้เองยังถูกกว่าการสมัครสมาชิกรายปีของฟิตเนสบางที่อีกด้วย นอกจากนั้นประโยชน์จากการออกกำลังกายโดยการวิ่งบนลู่วิ่งนั้นก็มีมีมากมาย อาทิ
-
ช่วยบริหารปอดและกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรง
-
ช่วยให้คุณกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นระหว่างวัน
-
ช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
-
ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
-
ช่วยควบคุมน้ำหนัก
-
ช่วยให้คุณมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น
-
ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เป็นต้น
เราเชื่อว่าหากคุณมาเจอกับบทความนี้แล้ว นั่นหมายความว่าคุณก็น่าที่จะทราบถึงประโยชน์ของการวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า และกำลังมองหาลู่วิ่งเพื่อมาออกกำลังกายที่บ้านเพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของคุณมากขึ้น ฉะนั้นในบทความนี้ Fitwhey จึงมีวิธีดีๆ ในการเลือกซื้อลู่วิ่ง รวมถึงประเภทและองค์ประกอบสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนการเลือกซื้อมาฝากกัน
องค์ประกอบของ "ลู่วิ่งไฟฟ้า" ที่ใช้ในการพิจารณาก่อนการเลือกซื้อ
1. มอเตอร์
หนึ่งในองค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญของลู่วิ่งเลยก็คือ มอเตอร์ โดยหน่วยกำลังเป็น Horse Power (HP) หรือเรียกว่าแรงม้า เหมือนกันรถยนต์นั่นเอง ซึ่งหากแรงม้ายิ่งเยอะการทำความเร็วและการรับน้ำหนักก็สามารถทำได้เยอะมากขึ้นนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้วมอเตอร์ของ ลู่วิ่งไฟฟ้า สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ มอเตอร์ชนิด DC ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องออกกำลังกายหรือลู่วิ่งที่ใช้ในบ้าน สำหรับออกกำลังเบาๆ เพื่อสุขภาพ และ มอเตอร์ AC ที่มีสมรรถนะและแรงม้าที่มากกว่า สามารถใช้งานหนักๆ สำหรับผู้ใช้งานแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ได้ ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานกับสถานฟิตเนสหรือสำหรับนักวิ่งที่ต้องการฝึกซ้อม เป็นต้น แต่ก็แน่นอนว่าลู่วิ่งที่ใช้มอเตอร์ชนิด AC ก็จะมีราคาที่สูงกว่านั่นเอง
ซึ่งในตลาดบ้านเรา มอเตอร์มีตั้งแต่ 1.5 - 4 แรงม้า แต่โดยทั่วไป (ลู่วิ่งราคาไม่แรง) จะมีมอเตอร์ที่ 2.0 แรงม้า ส่วนที่เคลม 3 - 4 แรงม้า อาจจะเป็นช่วงที่มอเตอร์ Peak สูงสุด เพราะฉะนั้นถ้าอยากได้แรงม้าที่แรงขึ้น หรือ วิ่งที่จริงจังขึ้นมาหน่อย อาจจะมองรุ่นที่สูงขึ้นจะดีกว่า
2. ขนาดของสายพาน
ซึ่งก็คือขนาดพื้นที่ที่คุณจะใช้วิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งเวลาที่คุณจะตัดสินใจซื้อก็ควรดูทั้งพื้นที่ของความกว้างและยาวของสายพาน เพราะขนาดของสายพานที่กว้างจะช่วยให้คุณวิ่งได้สบาย ไม่รู้สึกอึดอัดขณะวิ่งออกกำลังกาย โดยมาตรฐานของขนาดสายพานที่ดี ควรจะกว้างไม่ต่ำกว่า 40 เซ็นติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 120 เซ็นติเมตร ซึ่งถ้ายิ่งมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและความยาวมากขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย
วิธีการเลือกความยาวของสายพานให้เหมาะกับการใช้งาน
-
การเลือกซื้อ ลู่วิ่งไฟฟ้า สำหรับการเดินออกกำลังกาย ควรเลือกความยาวประมาณ 100 เซ็นติเมตรหรือมากกว่า
-
สำหรับผู้ใช้งานวิ่งทั่วไปสำหรับการออกกำลังกาย แนะนำความยาวของสายพานคือ 130 เซ็นติเมตรหรือมากกว่า
3. ขนาดของน้ำหนักที่รับได้สูงสุด
ข้อมูลในส่วนนี้มีความสำคัญมากหากผู้ที่ต้องการใช้งานมีน้ำหนักตัวมาก เพราะหาก ลู่วิ่งไฟฟ้า รับน้ำหนักมากเกินความสามารถที่รับได้ ก็จะทำให้มอเตอร์และสายพานทำงานหนักจนเกิดความเสียหายได้ ซึ่งลู่วิ่งโดยทั่วไปจะสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 100-110 กิโลกรัม
นอกจากนั้น สิ่งที่คุณควรจะทราบข้อมูลเพิ่มเติมของมอเตอร์ด้วย เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันในเรื่องของความสามารถในการรับน้ำหนัก ก็คือ กำลังของแรงม้า ซึ่งมอเตอร์ที่มีกำลังแรงม้าต่างกันก็จะมีความสามารถรับน้ำหนักได้มากน้อยแตกต่างกัน เช่น
-
มอเตอร์ขนาด 2.0 - 2.75 แรงม้า สามารถรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 80 กิโลกรัม
-
มอเตอร์ขนาด 3.0 แรงม้า สามารถรับน้ำหนักได้ 80-100 กิโลกรัม
-
มอเตอร์ขนาด 4.0 แรงม้า สามารถรับน้ำหนักได้ 100-150 กิโลกรัม
4. ความเร็วสูงสุด
ความสามารถในการทำความเร็วสูงสุดของ ลู่วิ่งไฟฟ้า มีความสัมพันธ์กับคุณภาพและประสิทธิภาพของมอเตอร์ ซึ่งตามมาตราฐานโดยทั่วไปควรเลือกซื้อลู่วิ่งที่ทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 14 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนความเร็วที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภทนั้น มีดังนี้
-
ความเร็วที่เหมาะสมกับการเดินเร็ว คือ 0 - 5 กม./ชม.
-
ความเร็วที่เหมาะสมกับการวิ่งแบบเหยาะๆ เพื่อวอร์มร่างกาย คือ 6 - 10 กม./ชม.
-
ความเร็วที่เหมาะสมกับการวิ่งเร็วเพื่อคาร์ดิโอ้ คือ 10 - 15 กม./ชม.
-
ความเร็วที่เหมาะสมกับการฝึกวิ่งเพื่อแข่งขัน คือ 15 - 20 กม./ชม.
5. ความชัน
การปรับระดับความชันในการวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า นั้นส่วนใหญ่นิยมสำหรับผู้ที่วิ่งเพื่อสุขภาพ เป็นการวิ่งที่เน้นการควบคุมอัตรการเต้นของหัวใจโดยไม่ต้องวิ่งเร็วมาก หรือที่หลายคนรู้จักก็คือ Heart Rate Zone โดยการออกกกำลังโดยควบคุมโซนของอัตราการเต้นของหัวใจนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 โซนคือ
-
Basic Zone หรือ Warm Up Zone สำหรับการออกกำลังกายแบบวิ่งเหยาะหรือเดินเร็ว ให้หัวใจสูบฉีดพอให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ยังไม่ได้เข้าโซนเผาผลาญไขมันได้ อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของหัวใจ หรือ MHR
-
Fat Burn Zone เป็นโซนของอัตราการเต้นของหัวใจสามารถสูบฉีดเลือกได้มากขึ้น เต้นเร็วขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน เช่นการลู่วิ่งไฟฟ้า ที่มีความชันมากขึ้น จะช่วยให้สามารถควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ประมาณ 60-70% ของ MHR โดยไม่ต่ำไปหรือสูงไปจนผิดวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายครั้งนั้น
-
Cardio หรือ Aerobic Zone เป็นโซนที่อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 60-70% ของ MHR เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายมีความอึดถึกทน เช่น ผู้ที่ต้องการไปแข่งวิ่งมาราธอน หรือนักกีฬาต่างๆ
ฉะนั้น การวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ยี่ห้อที่สามารถปรับระดับความชันได้ จึงช่วยรองรับการวิ่งออกกำลังกายของคุณได้หลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วลู่วิ่งจะสามารถปรับความชันได้ 2 แบบคือ -
การปรับความชันด้วยตัวเองแบบ Manual คือการปรับระดับความชันก่อนที่คุณจะเริ่มวิ่ง ซึ่งจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนระดับความชันระหว่างการวิ่งได้ โดย ลู่วิ่งที่ต้องปรับความชันเองแบบManual จะระดับความชันให้เลือกออยู่ 0% – 5%
- การปรับความชันแบบอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะมีอยู่เป็นหนึ่งในฟังก์ชั่นของ ลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งสามารถปรับความชันขึ้นลงเองอัตโนมัติได้ทุกขณะวิ่งตามความต้องการ โดยฟังก์ชั่นอัตโนมัตินี้จะสามารถปรับความชันได้มากถึง 0%-20% เลยทีเดียว
6. ระบบรับแรงกระแทก
แม้การวิ่งจะเป็นการออกกำลังที่ดีในรูปแบบหนึ่ง แต่หากวิ่งไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างปัญหาแก่ข้อเข่าและข้อเท้าของคุณได้ทั้งสิ้น เพราะการวิ่งบนพื้นแข็งๆ ไม่ว่าจะบนพื้นจริงหรือวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ก็มักจะมีแรงกระแทกกลับมาที่เข่าและข้อเท้าของคุณได้ หากคุณไม่รู้วิธีการวิ่งที่ลดแรงกระแทกเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นขณะวิ่งได้นั่นเอง
ฉะนั้นจึงได้มีการพัฒนาลู่วิ่งให้มีฟังก์ชั่นที่เป็นระบบรับและลดแรงกระแทกได้ เพื่อช่วยให้คุณสามารถวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ได้ปลอดภัยมากขึ้น โดยระบบนี้จะถูกติดตั้งมาอยู่บริเวณใต้กระดานลู่วิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นลูกยางหรือสปริงเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและช่วยกระจายแรงจากการวิ่งออกไป โดยแต่แบรนด์ก็จะมีการดีไซน์ที่แตกต่างกันไป
7. การบริการด้านต่าง ๆ และการรับประกันข้อมูลส่วนนี้ก็สำคัญไม่แพ้กับข้อมูลของคุณสมบัติของตัวลู่วิ่ง เพราะหากคุณกำลังมองหา ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่มีฟังก์ชั่นที่ตรงใจของคุรได้แล้ว การบริการด้านต่างๆ เช่น การขนส่ง, บริการหลังการขาย หรือพนักงานขายที่สามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลกับคุณได้อย่างมีประโยชน์ รวมถึงการรับประกับของตัวเครื่องนั้น จะเป็นจุกตัดสินใจที่ดีว่าคุณควรจะเลือกซื้อลู่วิ่งยี่ห้อไหนดี นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณควรทราบก่อนการเลือกซื้อ “ลู่วิ่งไฟฟ้า” และแน่นอนว่าการเลือกซื้อเครื่องออกกำลังกายสักเครื่องหนึ่ง นอกจากจะต้องทราบข้อมูลเหล่านี้ที่เราได้กล่าวมาแล้วนั้น คุณจะต้องทราบความต้องการและวัตถุประสงค์ของการออกกำลังของคุณก่อน เช่น ต้องการวิ่งเพื่อสุขภาพ, วิ่งเพื่อลดน้ำหนัก หรือต้องการลู่วิ่งไฟฟ้าเพื่อเตรียมการซ้อมสำหรับการแข่งวิ่ง ฯลฯ เพื่อเลือกซื้อเครื่องออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกายและความต้องการของคุณได้ตรงจุด นั่นเอง
เและหากคุณกำลังมองหา “ลู่วิ่งไฟฟ้า” ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามเราได้กล่าวมา สามารถคลิกดูรายละเอียดสินค้าของ Fitwhey ที่นี่ได้เลย
ติดต่อเรา
Facebook Inbox : https://www.facebook.com/fitwhey
LINE : @FITWHEY
Email : contactus@fitwhey.com